ในระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส ฮอมอโลกัสโครโมโซมในเซลล์ร่างกาย จะแยกจากกัน ไปสู่เซลล์สืบพันธุ์ แต่ละเซลล์ ในระยะแอนาเฟส I สอดคล้องกับกฎแห่งการแยก ซึ่งยีนแต่ละคู่จะแยกออกจากกันเมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์ โครโมโซมจะมารวมกลุ่มกันในเซลล์สืบพันธุ์อย่างอิสระ สอดคล้องกับกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ ซึ่งยีนที่แยกคู่จะรวมกลุ่มกับยีนอื่นอย่างอิสระในเซลล์สืบพันธุ์ ดังภาพ

---------------------------------------------------------------------------------
2. หนูตัวหนึ่งสร้างสเปิร์มแบบ aBCDE ผสมกับเซลล์ไข่แบบ abcDe จงหาจีโนไทป์ ของลูกที่เกิดจากการปฏิสนธิ และลูกมีโอกาสสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้กี่แบบ อะไรบ้าง
หนูตัวผู้สร้างสเปิร์มแบบ aBCDE ผสมกับเซลล์ไข่แบบ abcDe จะได้ลูกที่มีจีโนไทป์ aaBbCcDDEe เมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์จะได้ 8 แบบ โดยมีวิธีคิดดังนี้

---------------------------------------------------------------------------------
3.หญิงคนหนึ่งเป็นโรคตาบอดสี เมื่อแต่งงานกับชายตาปกติ
จากโจทย์สามารถหาคำตอบได้ดังนี้

3.1 ลูกชายจะมีโอกาสเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่
ลูกชายมีโอกาสเป็นโรคตาบอดสี เพราะได้รับยีนควบคุมโรคตาบอดสีมาจากแม่ ดังนั้นลูกชายจึงเป็นโรคตาบอดสีทุกคน
3.2 ลูกสาวจะเป็นโรคตาบอดสีหรือเป็นพาหะ
ลูกสาวเป็นพาหะ โรคตาบอดสีทุกคน เพราะได้รับยีนควบคุมโรคตาบอดสีมาจากแม่ และ ได้รับยีนตาปกติมาจากพ่อ
---------------------------------------------------------------------------------
4. ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ทำได้ยากกว่าในพืช จงให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด
เป็นเพราะมนุษย์มีช่วงชีวิต แต่ละชั่วรุ่นยาวนาน และจำนวนของลูกหลานที่เกิดขึ้นมีจำนวนไม่มากพอ ทำให้การควบคุม การทดลองเป็นไปได้ยาก จึงทำนายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ไม่ดี
---------------------------------------------------------------------------------
5. ชายคนหนึ่งมีฟันสีน้ำตาล แต่งงานกับหญิงที่มีฟันสีขาว ทั้งคู่มีลูกทั้งหมด 7 คน สี่คนแรกเป็นลูกสาวมีฟันสีน้ำตาลทุกคน สามคนต่อมาเป็นลูกชาย มีฟันสีขาวทุกคน ต่อมาลูกชายทุกคนของหญิงคู่นี้ ไปแต่งงานกับหญิงฟันสีขาว แต่ละครอบครัวมีลูกสาว 2 คน ลูกทุกคนมีฟันสีขาว ส่วนลูกสาวคนหนึ่ง (ก) ในจำนวน 4 คน ของชายหญิงคู่นี้แต่งงานกับชาย (ข) ที่มีฟันสีขาว มีลูกทั้งหมด 4 คน ลูกสาวคนแรกมีฟันสีน้ำตาล ลูกสาวคนที่ 2 มีฟันสีขาว และลูกชายคนแรกมีฟันสีน้ำตาล ลูกชายคนที่ 2 มีฟันสีขาว
5.1 จงเขียนพันธุประวัติของครอบครัว นี้

5.2 การถ่ายทอดลักษณะฟันสีน้ำตาล ของคนในครอบครัว ถูกควบคุมด้วยยีนเด่น หรือยีนด้อย และยีนมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซมชนิดใด
ลักษณะฟันสีน้ำตาล ควบคุมด้วยยีนเด่น และยีนมีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม X
5.3 ถ้าลูกชายฟันสีน้ำตาลที่เกิดจาก ก. และ ข. ไปแต่งงานกับหญิงฟันสีน้ำตาล ซึ่งพ่อมีฟันสีขาว โอกาสที่จะมีลูกชายฟันสีขาวคิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด
กำหนดให้ B แทนยีนควบคุมลักษณะฟันสีน้ำตาล และ b แทนยีนควบคุมลักษณะฟันสีขาว ดังนั้นลูกชายของ ก. และ ข. มีฟันสีน้ำตาล และมีจีโนไทป์เป็น




---------------------------------------------------------------------------------
6. จากการสำรวจลักษณะหนังตา และความสูงของนักเรียนทั้งชั้น ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง แล้วนำข้อมูลมาเขียนกราฟ จะได้กราฟดังกราฟ ก. และ กราฟ ข. จากข้อมูลนี้บอกอะไรแก่เราได้บ้าง
![]() ๐ กราฟ ข. แสดงลักษณะความสูงของคน เป็นลักษณะที่แตกต่างกันไม่ชัดเจน ความแตกต่างจะลดหลั่นกัน เนื่องจากถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ จึงเป็นลักษณะที่มีการแปรผันอย่างต่อเนื่อง |
---------------------------------------------------------------------------------
7. นาย ก. วางแผนแต่งงานกับ นางสาว ข. แต่นาย ก . ทราบภายหลังว่า ตัวเขาเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย และสามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ แต่ยังไม่ทราบว่านางสาว ข. เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย หรือไม่ นาย ก. ควรวางแผนชีวิตครอบครัวอย่างไร
1. สืบประวัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดโรคธาลัสซีเมียของครอบครัว และ เครือญาติของนางสาว ข.
2. พบแพทย์เพื่อให้นางสาว ข. ได้รับการตรวจการเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียในระดับพื้นฐาน
3. ปรึกษาแพทย์กรณีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ในลูก หากพบว่านางสาว ข. เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย
---------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เล่ม 4.กรุงเทพ:สกสค.2556.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เล่ม 4.กรุงเทพ:สกสค.2556.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น